การแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ACM-ICPC เอเชีย 2559 จัดระหว่างวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน – 13 พฤศจิกายน 2559 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นผู้กล่าวรายงาน และ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน ในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2559 เวลา 9.00 น.ที่ห้องประชุม 117 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กำหนดการ
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2559
เวลา | กิจกรรม |
07.00 – 08.30 | รับผู้เข้าร่วมแข่งขันจาก โรงแรมที่กำหนด |
08.00 – 09.00 | ลงทะเบียน รับสูจิบัตร ป้ายชื่อและเสื้อ (ชั้น ล่าง อาคาร 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์) |
09.00 - 11.00 | พิธีเปิดการแข่งขัน แนะนำรูปแบบการแข่งขัน กฎกติกา สถานที่ กิจกรรม (ห้องประชุม117 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) |
11.00 - 11.30 | ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก (บริเวณลานเกียร์) |
11.30 – 12.30 | อาหารกลางวัน |
12.30 – 14.30 | การเตรียมความพร้อมและทดลองการใช้ระบบแข่งขัน (ห้องกีฬา ชั้น 12 อาคาร 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์) |
15.00 | ส่งผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับ โรงแรมที่กำหนด |
วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2559
เวลา | กิจกรรม |
08.00 – 09.00 | รับผู้เข้าร่วมแข่งขันจาก โรงแรมที่กำหนด |
09.30 – 10.30 | ลงทะเบียนเข้าแข่งขัน (ชั้น ล่าง อาคาร 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์) |
10.30 – 11.00 | เตรียมความพร้อมก่อนแข่งขัน (ห้องกีฬา ชั้น 12 อาคาร 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์) |
11.00 - 16.00 | การแข่งขัน ACM-ICPC ระดับเอเชีย ประจำปี 2559
|
16.30 – 17.30 | พาผู้เข้าแข่งขันไปสถานที่จัดงานพิธีปิดการแข่งขัน |
17.30 – 21.00 | พิธีการมอบรางวัล ร่วมรับประทานอาหารเย็น และพิธีปิดการแข่งขัน (โรงแรม วินเซอร์ สวีทส์ 10/1 ซอยสุขุมวิท 20 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพ), , |
21.30 | ส่งผู้เข้าร่วมแข่งขันกลับ โรงแรมที่กำหนด |
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2559
เวลา | กิจกรรม |
07.15 | พร้อมที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
07.30 – 17.00 | เดินทางไปเที่ยวชม สถานที่ต่าง ๆ ที่จังหวัดอยุธยา |
17.30 | ส่งผู้ร่วมไปเที่ยวกลับ โรงแรมที่กำหนด |
การจัดการแข่งขันการเขียนโปรแกรมในระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศมีการจัดแข่งขันสม่ำเสมอทุกปี ซึ่งการจัดแข่งขันที่ถือว่ามีชื่อเสียงที่สุดคือการจัดการแข่งขันของ ACM-ICPC (ACM International Collegiate Programming Contest) โดย Baylor University ซึ่งมีการจัดการแข่งขันตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับประเทศ ระดับทวีป และในระดับโลก โดยมีการจัดแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลกมาแล้ว 40 ครั้ง
ในการจัดการแข่งขัน ACM-ICPC ระดับเอเชีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เคยจัดครั้งแรกในปี ค.ศ.2014 สำหรับในการแข่งขันครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 2 โดยมีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และผู้ควบคุมทีม 285 คน และมีนิสิตจากจุฬาฯเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดำเนินการแข่งขันนี้อีก 100 คน รวมทั้งสิ้น 385 คน 81 ทีม จาก 28 สถาบัน จาก 7 ประเทศในเอเชียได้แก่
1 China 3Teams 2 Japan 5 Team
3 Singapore 4 Teams 4 South Korea 1 Teams
5 Taiwan 3 Teams 6 Vietnam 9 teams
7 Thailand 56 Teams